❝ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่เป็นเหมือนแหล่งพลังงาน อุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นกับมนุษย์ในทุกเพศทุกวัย วันนี้ เรามาลองดูชนิดของข้าว ที่นิยมทานกันในบ้านเรา ทั้ง 7 ชนิดว่ามีอะไรบ้าง แล้วแต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยเพียงไหน รวมถึงจุดสังเกตด้านอื่น ๆ อย่างเช่น ความหอม รสชาติ และเนื้อสัมผัส ของข้าวแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ทำอาหารอร่อยๆ ทานร่วมกับข้าวได้อย่างไม่มีข้อสงสัยค่ะ❞ |
ประเภทของข้าว 7 ชนิด
ข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice) มีคาร์โบไฮเดตรสูงถึง 77% และโปรตีน 8% ให้พลังงานแก่ร่างกายแถมด้วยวิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และวิตามินบี 2 ช่องป้องกันโรคปากนกกระจอก ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ เป็นพันธ์ุข้าว มีที่มาจากสีของข้าวที่ขาวเหมือนดอกมะลิ มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมมะลิ คือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนุ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป ลักษณะเลื่อมมัน มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นข้าวเจ้าที่มีคุณภาพเมล็ดดีมาก เมล็ดข้าวสารใส แข็งแรง คุณภาพการขัดสีดี
ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ (Brown Rice / Milled rice) ข้าวที่ผ่านกระบวนการกะเทาะเอาออกจากเปลือกเท่านั้น จึงหมายถึงข้าวที่ผ่านการขัดสีเพียงครั้วเดียว ข้าวที่ได้จึงเป็นข้าวที่มีสีขาวขุ่น แต่เป็นข้าวที่ยังคงมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว(รำ) อยู่มากเป็นส่วนที่มีคุณค่าอาหารเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ข้าวกล้องจะมีเปลือกชั้นในบางๆ อยู่อุดมไปด้วยสารเส้นใย ถัดเข้าไปเป็นชั้นของวิตามินและเกลือแร่โดยเฉพาะวิตามินบี ยังมีโปรตีนซึ่งมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ชนิดจะพร่องไปบ้างคือ ไลซิน บริเวณขั้วจะมีจุดขาวๆอยู่จุดหนึ่งเราเรียกว่าจมูกข้าว เป็นต้นอ่อนของข้าวนั่นเอง จุดจมูกข้าวนี้อุดมไปด้วย วิตามินอี ข้าวกล้องยังมีซีลีเนียม แมกนีเซียมและเกลือแร่สำคัญอีกหลายตัวด้วยถูกขัดสีออกบางส่วน ทำให้เหลือเยื้อหุ้มเมล็ด และจมูกข้าวอยู่ มีโปรตีน และเส้นใยอาหารมากกว่าข้าวขาว
ข้าวเหนียว (Glutinous rice / Sticky rice) มีลักษณะเด่นคือเนื้อสัมผัสของข้าวซึ่งมีการติดกันระหว่างเมล็ดของข้าวที่หุงสุกแล้ว เป็นข้าวที่มีปริมาณอะไมโลเพกทิน (amylopectin) สูงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวเจ้า ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ ข้าวเหนียวดำจะสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้จากองุ่นดำ องุ่นแดง และ เปลือกสน การใช้เป็นอาหาร ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศไทย และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้ว ยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยวด้วย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry) เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ทำให้ได้ลักษณะที่ดีและคุณประโยชน์เด่นๆ ออกมา ลักษณะผิวมันวาว เป็นข้าวจ้าวสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก หากเป็นข้าวกล้องจะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น จึงยังทำให้คงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้อย่างครบถ้วน ต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปด้วยโฟเลจในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายชนิด ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, วิตามินบี 1, ลูทีน, แทนนิน, สังกะสี, โอเมก้า 3, ธาตุเหล็ก, โพลีฟีนอล และเส้นใย เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการ บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงระบบประสาท ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมากมาย
ข้าวญี่ปุ่น (Japanese rice) ข้าวญี่ปุ่น เป็นข้าวเมล็ดสั้น ข้าวสารหุงไม่ขึ้นหม้อ หุงสุกแล้วคล้ายข้าวเหนียว ใช้ตะเกียบคีบเป็นคำได้ เป็นข้าวชนิดจาโปนิกา ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะสั้น อวบอ้วน เกือบเป็นทรงกลม เมื่อหุงสุก จะมีความหนึบ เกาะตัวกันคล้ายข้าวเหนียว และมีความหวานตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เหมาะสำหรับทานกับ กับข้าว หรือ นำมาปั้นทำซูชิ ก็ได้
ข้าวขาว (White rice) ข้าวขาว เป็นข้าวที่มีการนำไปกระเทาะเปลือกออกแล้วนำไปขัดสีเอาส่วนเยื่อหุ้มออกไป ทำให้ได้ข้าวที่มีเมล็ดสีขาว ซึ่งเมื่อรับประทานจะให้แป้งและพลังงานเท่านั้น ส่วนอาหารอื่นๆจะเหลืออยู่ปริมาณน้อยหุงขึ้นหม้อ ไม่บูดง่าย
ข้าวอาโบริโอ (Arborio rice) ข้าวเมล็ดสั้นที่ให้เนื้อสัมผัสแน่นเหนียวเพราะมีปริมาณแป้งอยู่มาก แหล่งกำเนิดข้าวสายพันธุ์นี้อยู่ที่จังหวัดอาร์โบริโอ ในแคว้นปีเยมอนเต ทางตอนเหนือของอิตาลี นับว่าเป็นข้าวใช้ทำรีซอตโตที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดเพราะหาซื้อได้ง่ายและมีราคาไม่สูงหากเทียบกับสายพันธุ์อื่น ขนาดเมล็ดสั้น ราคาไม่แพง